แนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับข้อต่อหน้าแปลน

 

     การประกอบข้อต่อหน้าแปลนปะเก็น จะต้องมีแนวทางการปฏิบัติที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าปะเก็นจะมีการทำงานที่ดี ยืดอายุการใช้งานและมีความปลอดภัยตลอดการใช้งาน ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงโรงงานและผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง

 

     สาเหตุหลักของความล้มเหลวของข้อต่อและการรั่วไหลในโรงงานส่วนใหญ่จะเป็นการติดตั้งที่ไม่เหมาะสม และเพื่อลดโอกาสเกิดความล้มเหลว สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติในการประกอบที่ถูกต้อง

     ดังนั้นจึงควรมีการจัดอบรมแนวทางปฏิบัติ เช่น การใช้ปะเก็นและตัวยึดอย่างเหมาะสม การทำความเข้าใจถึงความสำคัญของจุดที่ควรหรือไม่ควรใช้สารหล่อลื่น และการใช้แนวทางปฏิบัติในการทำความสะอาดและตรวจสอบหน้าแปลนที่เหมาะสม ซึ่งการจัดอบรมจะทำให้มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง มีการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธี ทำให้มีอายุการใช้งานตลอดการบำรุงรักษาระบบ

การดูแลและการทำความสะอาด

     การตรวจสอบความสมบูรณ์ของหน้าแปลน เริ่มต้นด้วยการบำรุงรักษาและทำความสะอาดหน้าแปลน ต้องทำความสะอาดหน้าแปลนอย่างละเอียดเพื่อขจัดเศษและชิ้นส่วนของวัสดุปะเก็นเก่าที่เกาะติดกับพื้นผิว

     ส่วนนี้เป็นส่วนที่คนไม่ค่อยนิยมทำ เนื่องจากวัสดุปะเก็นบางชนิดมีการจัดการที่ยุ่งยาก และเพื่อการแก้ปัญหานี้ ช่างซ่อมบำรุงจะใช้จารบี สารหล่อลื่น หรือสารอื่นๆ ที่หน้าแปลนหรือพื้นผิวปะเก็นเพื่อป้องกันการเกาะติด

     แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะในบางกรณีอาจเป็นอันตรายได้ หากไม่คำนึงถึงขนาดและประเภท เนื่องจากสารแปลกปลอมเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการซีลของปะเก็น และส่วนใหญ่จะทำให้ปะเก็นเสื่อมสภาพและเสียหายก่อนเวลาอันควร ซึ่งนำไปสู่การรั่วไหล

     เมื่อทำความสะอาดอย่างถูกต้อง ควรตรวจสอบพื้นผิวหน้าแปลนเพื่อหาความเสียหายในรูปแบบของรอยขีดข่วน รอยเซาะ รูพรุน เป็นต้น ซึ่งความเสียหายเหล่านี้ส่งผลต่อการซีล สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ pipe stretcher หรือตัวยึดท่อ ที่ใช้ดันหรือดึงหน้าแปลนที่ไม่ตรงแนวให้อยู่ในแนวซึ่งจะเพิ่มความเครียดให้กับระบบท่อ ความเครียดที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถนำไปสู่การรั่วไหลได้

     เมื่อทำความสะอาดและตรวจสอบเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาประกอบใหม่ การประกอบใหม่ควรใช้ปะเก็นใหม่ที่ระบุตามข้อกำหนดของโรงงาน ปะเก็นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ซ้ำ หากจะนำกลับมาใช้ใหม่ ควรตรวจสอบอย่างละเอียดหรือปรึกษาผู้ผลิต

     ปะเก็นแต่ละชนิดจะมีค่าค่าการคืนตัว (Recovery)ที่ไม่เท่ากัน ในกรณีปะเก็นที่มีเนื้อแข็ง เช่น ปะเก็นโลหะ ปะเก็นกึ่งโลหะ จะมีค่า Recovery น้อย เวลาปะเก็นถูกกดอัดกับหน้าแปลนเพื่อทำการซีลจะไม่มีการคืนตัวคืนมาหรือสามารถคืนตัวได้น้อย และในกรณีที่หยุดการทำงานของเครื่องจักรหรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิก็อาจจะส่งผลต่อการซีลของปะเก็นได้เหมือนกัน

ความเค้น (Stress) หรือแรงที่กระจายไปทั่วพื้นที่ เป็นปัจจัยหลักในการพิจารณา การสร้างความเค้นที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการซีลที่มี
ประสิทธิภาพ หากมีความเค้นน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการรั่ว หากมีความเค้นมากเกินไป อาจทำให้หน้าแปลน ปะเก็น และ/หรือสลักเกลียวเสียหาย ซึ่งอาจ
ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาด หากมีความเค้นที่พอเหมาะกับหน้าแปลนจะสามารถควบคุมปริมาณโหลดที่นำไปใช้กับระบบได้

ที่มาของข้อมูล
https://valve-world-americas.com/best-practices-for-bolted-flange-joints/

หากมีความสนใจสามารถติดต่อพวกเราได้ที่ [email protected] เรายินดีจะตอบทุกปัญหาและ
ให้คําแนะนําสําหรับเรื่องผลิตภัณฑ์ Durlon®fill PTFE และขั้นตอนการสั่งซื้อ 
ปะเก็นคุณภาพต้อง “ซีลลิงส์ อาร์ อัส” คิดถึงปะเก็นอย่าลืมคิดถึงเรา “ซีลลิงส์ อาร์ อัส”

ติดต่อสอบถาม
Tel : 02-102-4352
Line : @sealingrus

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save